รู้ไว้ใช่ว่า..กับเรื่องข้าวโพด
ชนิดของข้าวโพด โดยทั่วไปข้าวโพดจัดออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
1.ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวโพดไร่
(Field Corn) ปลูกกันมากใน ประเทศสหรัฐอเมริกา
สีของเมล็ดมีตั้งแต่ขาวไปจนถึงเหลือง เนื่องจากมีหลายสายพันธุมีโปรตีนน้อยกว่า
2.ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่มีการแปรรูป
เมล็ดมักจะใสและเหี่ยวเมื่อแก่เต็มที่ เพราะมีน้ำตาลมาก ก่อนที่จะสุกจะมีรสหวานมากกว่าชนิดอื่น
ข้าวโพดคั่ว
(Pop Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน เมล็ดค่อนข้างแข็ง นำไปผ่านความร้อน จึงจะใช้ทานได้ ในต่างประเทศ
ถ้าเมล็ดมีลักษณะแหลมเรียกว่า ข้าวโพดข้าว (Rice Corn) ถ้าเมล็ดกลม เรียกว่า ข้าวโพดไข่มุก (Pearl
Corn)
ข้าวโพดแป้ง
(Flour Corn) เมล็ดมีสีหลายชนิด เช่น หรือสีน้ำเงินคล้ำ
หรือมีทั้งสีขาวและสีน้ำเงินคล้ำในฝักเดียวกัน เนื่องจากกลายพันธุ์
พวกที่มีเมล็ดสีคล้ำและพวกกลายพันธุ์เรียกว่าข้าวโพดอินเดียนแดง
พวกข้าวโพดสีคล้ำนี้จะมีไนอาซีน สูงกว่าข้าวโพดที่มีแป้งสีขาว
ข้าวโพดเทียน
(Waxy Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน
จะมีแป้งที่มีลักษณะเฉพาะคือ นุ่มเหนียว เพราะในเนื้อจะประกอบด้วยแป้ง
มักปลูกกันมากในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ได้แก่ ข้าวโพดเหนียว
และโอเปค-2
ประธานชุมชน คุณ วาสนา.. ทับคาง เขาย้อย..เพชรบุรี..กับข้าวโพด ใช้น้ำน้อย
พันธุ์ข้าวโพด
1.
พันธุ์ซีพี-ดีเค
888 เกษตรกรปลูกร้อยละ 34.74 ของจำนวนเกษตรกรตัวอย่างทั้งหมด โดยนิยมปลูกมากที่ภาคเหนือ
2.
พันธุ์คาร์กิลล์ 919 เกษตรกรปลูกร้อยละ 17.69 ของจำนวนเกษตรกรตัวอย่างทั้งหมด
นิยมปลูกมากที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3.
พันธุ์บิ๊ก 717 เกษตรกรปลูกร้อยละ 6.87 ของจำนวนเกษตรกรตัวอย่างทั้งหมด นิยมปลูก
มากที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
4.
พันธุ์แปซิฟิค 984 เกษตรกรปลูกร้อยละ 2.26 ของจำนวนเกษตรกรตัวอย่างทั้งหมด นิยมปลูกมากที่ภาคเหนือ และภาคกลาง
5. นครสวรรค์ 1
/ นครสวรรค์ 2 / นครสวรรค์ 3
/ นครสวรรค์ 72
6.
ข้าวโพดฝักอ่อน : เชียงใหม่
90
7.
ข้าวโพดเทียน : สุโขทัย
1
8. NSX052014 เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเดี่ยวอายุค่อนข้างสั้น
สามารถเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 95-100 วัน เกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้
Nei462013 เป็นพันธุ์แม่และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ Nei452009 เป็นพันธุ์พ่อ
เมล็ดเป็นชนิดกึ่งหัวแข็งสีส้มเหลือง
ลักษณะเด่น
1) ผลผลิตสูง เฉลี่ย 1,176 กิโลกรัมต่อไร่ ใกล้เคียงกับพันธุ์ลูกผสมการค้า
2) มีความทนทานแล้งในระยะออกดอก โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 720 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อกระทบแล้งช่วงออกดอกนานหนึ่งเดือน (ผลผลิตลดลง 39% จากสภาพฝนปกติ)
3) ต้านทานโรคใบไหม้แผลใหญ่ และต้านทานปานกลางต่อโรคใบด่างที่เกิดจากเชื้อ Maized warfmosaic virus
4) ฝักแห้งเร็วในขณะที่ต้นยังเขียวสด ทำให้เก็บเกี่ยวได้เร็ว มีความชื้นขณะเก็บเกี่ยวน้อยกว่าพันธุ์อื่นๆ
ที่ปลูกพร้อมกัน
1) ผลผลิตสูง เฉลี่ย 1,176 กิโลกรัมต่อไร่ ใกล้เคียงกับพันธุ์ลูกผสมการค้า
2) มีความทนทานแล้งในระยะออกดอก โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 720 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อกระทบแล้งช่วงออกดอกนานหนึ่งเดือน (ผลผลิตลดลง 39% จากสภาพฝนปกติ)
3) ต้านทานโรคใบไหม้แผลใหญ่ และต้านทานปานกลางต่อโรคใบด่างที่เกิดจากเชื้อ Maized warfmosaic virus
4) ฝักแห้งเร็วในขณะที่ต้นยังเขียวสด ทำให้เก็บเกี่ยวได้เร็ว มีความชื้นขณะเก็บเกี่ยวน้อยกว่าพันธุ์อื่นๆ
ที่ปลูกพร้อมกัน
1. พันธุ์ลูกผสม
เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมากกว่าพันธุ์ผสมเปิด มีลักษณะทางการเกษตรสม่ำเสมอ ได้แก่ ขนาดฝัก ความสูงฝัก ความสูงต้น อายุวันออกดอกตัวผู้และวันออกไหม วันเริ่มเก็บเกี่ยวและช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยว ให้ผลผลิตและคุณภาพสูงกว่าพันธุ์ผสมเปิด เป็นที่ต้องการของตลาดและโรงงาน อีกทั้งยังต้านทานต่อโรค ราน้ำค้าง โดยราคาจำหน่ายเมล็ดพันธุ์
พันธุ์ที่นิยมปลูกในปัจจุบัน มี 6 พันธุ์ คือ
1.
จี 5414 เป็นพันธุ์ของ บริษัทซินเจนทาซีดส์ จำกัด ฝักสีเหลืองอ่อน วันถอดช่อดอกตัวผู้ประมาณ
44 วันหลังปลูก อายุเริ่มเก็บเกี่ยวประมาณ
49 วัน ผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือก
1,800-2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักอ่อนปอกเปลือก
270-380 กิโลกรัมต่อไร่
2.
เอสจี 18 เป็นพันธุ์ของ บริษัท ซินเจนทาซีดส์ จำกัด ฝักสีเหลืองอ่อน ไม่ต้องถอดช่อดอกตัวผู้เนื่องจากตัวผู้เป็นหมัน อายุเริ่มเก็บเกี่ยวประมาณ
50-52 วัน ผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือก
1,700-2,500 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักอ่อนปอกเปลือก
300-430 กิโลกรัมต่อไร่
3.
แปซิฟิค 116 เป็นพันธุ์ของ บริษัทแปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด ฝักสีเหลือง วันถอดช่อดอกตัวผู้
46-48 วันหลังปลูก อายุเริ่มเก็บเกี่ยว
48-50 วัน ผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือก
1,500-1,600 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักอ่อนปอกเปลือก
270-290 กิโลกรัมต่อไร่
4.
แปซิฟิค 283 เป็นพันธุ์ของ บริษัทแปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด ฝักสีเหลืองอ่อน วันถอดช่อดอก ตัวผู้
45-47 วันหลังปลูก อายุเริ่มเก็บเกี่ยว
47-49 วัน ผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือก
2,200-2,400 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักอ่อนปอกเปลือก
350-400 กิโลกรัมต่อไร่
151
5.
ยูนิซีดส์ บี-65 เป็นพันธุ์ของ บริษัท ยูนิซีดส์ จำกัด ฝักสีเหลือง วันถอดช่อดอกตัวผู้ ประมาณ
52 วันหลังปลูก อายุเริ่มเก็บเกี่ยวประมาณ
52 วัน ผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือก
1,800-1,900 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักอ่อนปอกเปลือก
300-350 กิโลกรัมต่อไร่
6.
เกษตรศาสตร์ 2 เป็นพันธุ์ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฝักสีเหลืองอ่อน ไม่ต้องถอดช่อดอกตัวผู้เนื่องจากตัวผู้เป็นหมัน อายุเริ่มเก็บเกี่ยวประมาณ
51 วัน ผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือก
1,600-1,800 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักอ่อนปอกเปลือก
280-300 กิโลกรัมต่อไร่
2. พันธุ์ผสมเปิด
มีลักษณะทางการเกษตรไม่สม่ำเสมอเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ลูกผสม มีความต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง แต่เมล็ดพันธุ์ราคาถูกกว่าพันธุ์ลูกผสม พันธุ์ที่นิยมปลูกในปัจจุบัน มี 2 พันธุ์ คือ
เชียงใหม่
90 ฝักสีเหลือง วันถอดช่อดอกตัวผู้
40-42 วันหลังปลูก อายุเริ่มเก็บเกี่ยว
43-45 วัน เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือก
870–1,200 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักอ่อนปอกเปลือก
150-200 กิโลกรัมต่อไร่
สุวรรณ
2 เป็นพันธุ์ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฝักสีเหลือง วันถอดช่อดอกตัวผู้
40-43 วันหลังปลูก อายุเริ่มเก็บเกี่ยว
45-48 วัน ผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือกเฉลี่ย
745 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักอ่อนปอกเปลือกเฉลี่ย
120 กิโลกรัมต่อไร่
ข้าวโพดข้าวเหนียว
ข้าวโพดข้าวเหนียวจัดเป็นข้าวโพดรับประทานฝักสดที่ได้รับความนิยมบริโภคมากชนิดหนึ่งมีความอ่อนนุ่ม ไม่ติดฟันรสหวานเล็กน้อย ขนาดฝักพอเหมาะ อายุเก็บเกี่ยวสั้น (55-70 วัน) ปลูกได้ตลอดทั้งปี ในพื้นที่ไร่และในเขตชลประทานเหมาะสมสำหรับเป็นพืชเสริมรายได้ พื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศประมาณ 80,000 ไร่ พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคอีสาน ตามด้วยภาคตะวันตก และภาคเหนือ ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 1,300-1,700 กิโลกรัมต่อไร่ ใช้บริโภคในท้องถิ่นทั้งหมด
ปัญหาสำคัญของข้าวโพดข้าวเหนียว คือ ขาดแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และพันธุ์ของทางราชการที่ผลิตไม่เพียงพอกับปริมาณความต้องการของเกษตรกร
พันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียว
สำหรับพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวที่ได้มีการปรับปรุงพันธุ์ทั้งโดยหน่วยราชการและบริษัทเอกชน ได้แนะนำพันธุ์ให้เกษตรกรใช้แล้วมีดังนี้
1. พันธุ์รัชตะ เป็นพันธุ์ผสมเปิด ที่ปรับปรุงพันธุ์โดยศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ สถาบันอินทรีย์จันทรสถิตย์ เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. พันธุ์สำลีอิสาน เป็นข้าวโพดข้าวเหนียวที่แนะนำพันธุ์ในปี 2542 เป็นพันธุ์แรกที่ปรับปรุงโดยคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้มาจากการผสมข้ามชนิดระหว่างข้าวโพดข้าวเหนียวและข้าวโพดซูเปอร์สวีท มีลักษณะพิเศษคือ มีรสชาติเหนียวปนหวานในฝักเดียวกัน โดยเมล็ดส่วนใหญ่ประมาณ 3 ส่วน เป็นเมล็ดข้าวโพดข้าวเหนียว จึงมีรสเหนียวนุ่มและเมล็ดอีกหนึ่งส่วนเป็นเมล็ดของข้าวโพดหวานทำให้มีรสหวาน
3. พันธุ์แวกซ์-22
เป็นพันธุ์ลูกผสมชั่วแรก
(F1-hybrid) ที่ผลิตและจำหน่ายโดยบริษัท ซินเจนทาซีดส์จำกัด
4. พันธุ์บิ๊กไวท์ เป็นพันธุ์ลูกผสมชั่วแรก
(F1-hybrid) ที่ผลิตและจำหน่ายโดยบริษัท อีสเวส ซีดส์ จำกัด
5. พันธุ์ท๊อปไวท์ เป็นพันธุ์ลูกผสมชั่วแรก
(F1-hybrid) ที่ผลิตและจำหน่ายโดยบริษัท เจียไต๋ จำกัด
6. พันธุ์ข้าวเหนียวสลับสี เป็นพันธุ์ลูกผสมชั่วแรก
(F1-hybrid) พันธุ์ใหม่ล่าสุดที่ปรับปรุงพันธุ์โดยคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แนะนำพันธุ์อย่างเป็นทางการในปี
2547 เป็นข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์แรกที่มีเมล็ดสองสีคือสีขาวและสีเหลืองสลับกันอยู่ในฝักเดียวกัน ปรับปรุงมาจากการผสมข้ามชนิดระหว่างข้าวโพดข้าวเหนียวและข้าวโพดซูเปอร์สวีท มีลักษณะพิเศษคือ มีรสชาติเหนียวปนหวานในฝักเดียวกัน เมล็ดส่วนใหญ่ประมาณ
3 ส่วน เป็นเมล็ดข้าวโพดข้าวเหนียว จึงมีรสเหนียวนุ่มและเมล็ดอีกหนึ่งส่วนเป็นเมล็ดของข้าวโพดหวานทำให้มีรสหวาน
1 . เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อน แปซิฟิค 271 แปซิฟิค 321
2.พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แปซิฟิค 999 ซุปเปอร์แปซิฟิ 339 แปซิฟิค 777 แปซิฟิค 559
3 . เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน ไฮ - บริกซ์ 3 ไฮ - บริกซ์ 53 ไฮ - บริกซ์ 58
การใส่ปุ๋ยให้เหมาะกับดิน
*ดินเหนียวสีดำ หากมีฟอสฟอรัสสูง ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 50 กก.ต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 25 กก.ต่อไร่ โดยโรยข้างแถวหลังในแต่ละแปลง ปลูก 20-25 วัน แต่หากมีฟอสฟอรัสต่ำไป ให้ปุ๋ยเคมี 20-20-0 ในอัตรา 40 กก.ต่อไร่ หรือ 16-20-0 อัตรา 50 กก.ต่อไรโดยโ รองก้นร่องพร้อมปลูก และให้ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 10 กก.ต่อไร่ หรือ 21-0-0 อัตรา 20 กก.ต่อไร่ โรยข้างแถวหลังในแต่ละแปลง นาน 20-25 วัน แล้วพรวนดินกลบ
*ดินเหนียวสีแดง ดินเหนียวสีน้ำตาล หรือดินร่วนเหนียวสีน้ำตาล ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 หรือ 16-16-8 อัตรา 50 กก.ต่อไร่ รองก้นร่อง
และให้ปุ๋ยเคมี 21-0-0 อัตรา 30 กก.ต่อไร่ หรือ 46-0-0 อัตรา 10 กก.ต่อไร่ โรยข้างแถวหลังในแต่ละแปลง นาน 20-25 วัน แล้วพรวนดินกลบ
*ดินร่วน หรือดินร่วนทราย ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 หรือ สูตร 15-15-15 แล้วแต่สภาพพื้นดิน อัตรา 1ลูก ต่อไร่ รองก้นร่อง และปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0อัตรา 30 กก.ต่อไร่ โรยข้างแถวหลัง นาน20-25 วัน แล้วพรวนดินกลบ…หลังจากเก็บผลผลิตแล้วไม่ควรเผาต้นหรือนำตอซังไปทิ้ง
ควรไถกลบลงดินเป็นปุ๋ยพืชสด
การกำจัดวัชพืช
*การปลูกข้าวโพดให้ได้ผลผลิตสูง
จึงต้องให้แปลงปลอดวัชพืช ตลอดช่วง 1 เดือนแรก โดยเฉพาะระยะ 13-25 วัน หลังต้นงอก ต้องระวังไม่ให้มีวัชพืชรบกวนจะทำให้ผลผลิต
ข้าวโพดเสียหาย
1. การไถและพรวนดิน
ก่อนปลูกข้าวโพด
โดยไถและพรวนดินหลังวัชพืชงอก จะช่วยทำลายกล้าวัชพืชให้ตายได้
ส่วนกล้าและเหง้าวัชพืชที่ตายยาก ควรตากดินนาน 15 วัน ต้องให้วัชพืชตาย ก่อนปลูกข้าวโพด
2. การทำรุ่น
การใช้ไถพูนโคนมักมีวัชพืช ในแถวหลงเหลืออยู่ จึงต้องจัดการดายตามอีกครั้ง
3. การใช้สารเคมี
พ่นกำจัดวัชพืชทันทีหลังข้าวโพดและวัชพืชงอกแล้ว
การใช้สารเคมีควรฉีดพ่นขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่ แต่ต้องระมัดระวัง อันตรายต่อข้าวโพดเอง
คน พืชอื่น ๆ และ สิ่งแวดล้อม ไม่ควรปลูกข้าวฟ่างตามหลังข้าวโพด เพราะทั้ง 2 พืชมีระบบรากคล้ายกันคือ กินธาตุอาหารในดินเหมือนกัน
ดินปลูกจะเสื่อม หมดธาตุอาหาร ควรปลูกพืชหมุนเวียนชนิดอื่นแทน
การปลูกข้าวโพดหวาน แบบใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
1. ปลูกได้ทั้งปีในพื้นที่ที่มีน้ำพอ ใช้เมล็ดพันธุ์
1-15 กก.ต่อไร่ หรืออาจมากกว่า
2. การเตรียมดิน ไถตะ แล้วตากดินไว้ 10-15
วัน
หว่านปุ๋ยหมัก หรือ ปุ๋ยคอก 1-2 ตัน/ไร่
ส่วนในดินเหนียว 2-4 ตัน ต่อไร่ ไถแปร 1- 2 ครั้ง เพื่อย่อยดินให้เหมาะต่อการปลูก ให้หว่านปุ๋ยเมื่ออายุ 25-30
วัน และ 40-45 วัน
3. ระยะปลูก มี 2 แบบ คือ
3.1 แบบแถวเดี่ยว
ระยะระหว่าง แถวห่าง 75 ซ.ม. ส่วนต้นห่างกัน
30 ซ.ม.
3.2 แบบแถวคู่
( แบบแปลงผัก ) ชักร่องกว้าง 1.20
เมตร
ปลูกข้างสันร่องทั้ง 2 ด้าน ส่วนต้นห่าง กัน 30 ซ.ม.
4. การใส่ปุ๋ยมี 2 ระยะคือ
รองพื้นด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ตามความเหมาะสม และใส่ปุ๋ยแต่งหน้า 2 ครั้ง
ประโยชน์ข้าวโพด กับพืช
ข้าวโพดสามารถส่งเสริมการย่อยสลาย PAH ที่ปนเปื้อนสารมลพิษอินทรีย์ใน
จึงมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ฟื้นฟูดิน
ประโยชน์ข้าวโพด กับมนุษย์
ช่วยบำรุงสายตา
จะมีสาร เบต้าแคโรทีน ( วิตามินเอ
) ช่วยให้ลดอัตราเสื่อมของลูกตาและป้องกันการเป็นโรคต้อกระจกตาด้วย
ชะลอในการเสื่อมสภาพของร่างกาย มี โฟเลต ซึ่งจะช่วย สร้างสารต้านอนุมูลอิสระ
ป้องกันโรคหัวใจ ข้าวโพดจะรวมตัวกับน้ำดีจากคอเลสเตอรอลในตับของเรา
ทำให้คอเลสเตอรอลในร่างกาย สลายไปได้ แถมยังอุดมไปด้วยโฟเลต, วิตามินบี, กรดอะมิโนที่ สามารถทำลายเส้นเลือดที่นำไปสู่หัวใจวายโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหลอดเลือด
ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ลดความดันในร่างกาย
ต้านโรคมะเร็ง ข้าวโพดยังช่วยลดความเสี่ยงของโรค
มะเร็งปอด และเส้นใยในข้าวโพดยังช่วยให้ระบบย่อยอาหาร จึงลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ริดสีดวงทวารท้องผูก
ทุเลา ช่วยระบบขับถ่ายให้ดียิ่งขึ้น
ข้าวโพด กรมวิชาการเกษตร