วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

นาโน อนุภาคที่เล็กสุดๆ ที่มนุษย์สามารถแตกอนูได้ความละเอียดสูงสุดที่นำมาใช้ประโยชน์ต่อมวลมนุษย์มากมาย  นาโนแค็ปซูล วายไอซี ก็เช่นกัน ที่เป็นอาหารเหมาะแก่พืชจากแคนนาดา ที่ดูดซึมสู่ราก ใบและลำต้นได้ดี และรวดเร็ว นำมาใช้กับพืชทุกชนิด ทำให้โตไว ลูกใหญ่ ดก สีสวย หวานอร่อย ผ่านการทดสอบมานับสิบปี ได้ผลเต็มประสิทธิภาพ
ไผ่ตง Dendrocalamus แปลว่า "พืชจำพวกกกหรืออ้อย ไผ่สกุลนี้ที่มีขนาดใหญ่และนิยมปลูกเพื่อการบริโภคหน่อ ไผ่สกุลนี้มีประมาณ  50 ชนิด ในจำนวนนี้พบในไทย 4 ชนิด กระจายพันธุ์ในเขตร้อนและกึ่งร้อนของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในเขตไทย จีน อินเดีย  พม่า ฟิลิปปินส์  มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
ทุกส่วนของไผ่ตงตั้งแต่รากไปจนถึงยอดสุดของลำต้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เช่น ลำต้นใช้ทำ เครื่องเรือน เครื่องจักสาน บ้านพักอาศัย ใข้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตเยื่อกระดาษ รากไผ่ช่วยยึดดินตามบริเวณติดน้ำ เช่น หนอง คลอง บึง ไม่ให้พังทลายหรือลดกระแสนํ้าได้  หน่อที่มีรสหวานกรอบอร่อย ใช้ประกอบเป็นอาหาร
การปลูกไผ่ตง สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก โดยปลูกในพื้นที่ราบ นํ้าไม่ท่วม ดินควรเป็นดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย มีการระบายนํ้าดี
สภาพภูมิอากาศไผ่ตงขึ้นได้ดีเกือบทุกสภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป ความชื้นเหมาะสม มีฝนตกดี


สายพันธุ์ของไผ่ตง
1ไผ่ตงดำ หรือ ไผ่ตงหวาน
ลำต้นจะมีสีเขียวเข้ม อมดำ ใบจะมีสีเขียวเข้ม ใบหนาใหญ่ มองเห็นร่องใบได้ชัดเจน หน่อจะมีนํ้าหนักขนาดปานกลาง 3-6 กิโลกรัม มีรสหวาน กรอบ เนื้อเป็นสีขาวละเอียด ไม่มีเสี้ยน "
2. ไผ่ตงเขียว
ลำต้นจะมีขนาดเล็กและสั้นกว่าไผ่ตงดำ ลำต้นสีเขียว เนื้อไม้บาง ไม่แข็งแรง ถ้ามีลมแรงจะหักพับลงมาได้ง่าย ใบไผ่มีขนาดปานกลาง สีเขียวเข้ม จับแล้วไม่สากมือ หน่อมีนํ้าหนัก 1- 4กิโลกรัม หน่อมีรสชาติหวานอมขื่น เนื้อเป็นสีขาวอมเหลือง ไผ่ตงเขียวมีความคงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีเหมาะที่จะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การขยายพันธุ์ไผ่ตงสามารถขยายพันธุ์ได้ 5 วิธีคือ
วิธีการเพาะเมล็ด
โดยปกติไผ่ตงจะออกดอกในเดือนพฤศจิกายน-มกราคม เและตาย ดอกจะแก่และร่วงหล่นประมาณเดือน มีนาคม-เมษายน
การเก็บเมล็ดพันธุ์
เมล็ดไผ่ตงเมื่อแก่จัดจะร่วงลงพื้น ควรทำความสะอาดหรือถางโคนต้นให้เตียนใช้วัสดุหรือตาข่ายรองรับเมล็ดพันธุ์ไผ่ตง นำเมล็ดที่สมบูรณ์มาขัด นวด เพื่อเอาเปลือกออก นำไปผึ่งแดดประมาณ 1 วัน ก็สามารถนำไปเพาะได้เลย  ไม่ควรเก็บเมล็ดไว้เกิน 1 เดือน เพราะจะทำให้อัตราการงอกลดลง
วิธีการเพาะกล้า
เมล็ดไผ่ตงที่จะเพาะควรขัดเอาเปลือกนอกออกก่อน ถ้าเพาะทั้งเปลือกนอกเมล็ดด้วย ต้นอ่อนจะงอกช้าและเติบโตไม่ดี ให้นำเมล็ดไปแช่นํ้า 2 คืน แล้วนำเมล็ดขึ้นจากนํ้า ห่อเมล็ด
ด้วยผ้าชุบนํ้า รดให้ชื้นเรื่อยๆ  2 คืน เมล็ดจะเริ่มงอก แล้วนำเมล็ดที่เริ่มงอกไปลงแปลงเพาะปลูกที่มีขี้เถ้าแกลบผสมดิน และทรายรองพื้นหนาราว  4 นิ้ว หว่านเมล็ดแล้วกลบด้วยดินหนาประมาณ 1 ซม. แล้วคลุมแปลงด้วยวัดสุคลุมดิน เช่น ฟางข้าว.
การปลูกไผ่ตง
ภายหลังจากการเพาะเมล็ดประมาณ 2 อาทิตย์ ให้ย้ายกล้าไผ่ลงแปลง ซึ่งต้นกล้าไผ่ตงจะมีความสูง 2-3 นิ้ว ย้ายกล้าที่แข็งแรงลงถุงเพาะ อนุบาลไว้ในเรือนเพาะชำ หรือในที่ร่ม 6-7 เดือน ก็นำ ไปปลูกต่อไป
2. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
เราสามารถใช้ต้นกล้าไผ่ตงที่ได้จากการเพาะเมล็ดมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นการนำ ต้นกล้ามาขยายพันธุ์ให้ได้ปริมาณมาก ๆ เพื่อแก้ปัญหาต้นตายเพราะกิ่งแขนงที่นำมาจากต้นแม่ ที่มีอายุมาก กิ่งจะมีอายุเท่ากับต้นแม่ เมื่อต้นออกดอก กิ่งแขนงก็ตายด้วยเช่นกัน แต่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้องอาศัยขั้นตอนและเทคนิคทางวิชาการมาก จึงควรให้หน่วยงานราชการเป็นผู้ดำ เนินการผลิต
3. การขยายพันธุ์โดยการแยกกอเหง้า
การขยายพันธุ์วิธีนี้จะต้องคัดเลือกเหง้าที่มีอายุ 1-2ปี ตัดให้ตอสูงประมาณ ครึ่งเมตรถึง 1 เมตร แล้วขุดเหง้ากับตอ ออกจากกอแม่เดิม อย่าให้ตาที่คอเหง้าแตกเสียหาย เพราะตา จะแตกเป็นหน่อนั่นเอง
4. การขยายพันธุ์โดยใช้ลำ
คัดเลือกลำที่มีอายุ1 ปี  ตัดเป็นท่อนๆ แต่ละท่อนมี 1 ข้อ ต้องตัดให้ตรงกลาง และให้
รอยตัดทั้งสองห่างจากข้อ 1 ต้องเป็นลำที่มีแขนงติดอยู่ด้วย โดยจะต้องตัดให้แขนงยาวประมาณ1 คืบด้วย จากนั้นจึงนำไปชำ  โดยวางให้ข้ออยู่ระดับดิน และให้ตาหงายขึ้น อย่าให้โดนตาเพราะจะแตกเป็นหน่อ แล้วใส่นํ้าลงในปล้องไผ่ให้เต็ม โดยคอยเติมนํ้าให้อยู่เต็มอยู่เสมอ หมั่นดูแลรดนํ้าให้ความชุ่มชื่นหลังจากนั้น 2 - 4 สัปดาห์ หน่อและรากจะแตกออกมา หน่อแทงรากแข็งแรงเต็มที่อายุ  6 เดือนถึง 1 ปี ก็ทำการย้ายปลูกได้
5. การขยายพันธุ์โดยใช้กิ่งแขนงปักชำ
กิ่งแขนง คือกิ่งที่แยกออกจากลำต้นไผ่ตรงบริเวณข้อ ที่โคนกิ่งมีรากเห็นได้ชัด มีรากฝอยแตกจาก
รากแขนงแล้ว ให้เลือกกิ่งแขนงที่มีอายุ 4-6 เดือน เป็นกิ่งค้างปียิ่งดี กิ่งควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1นิ้ว ยอดใบกิ่งแขนงคลี่แล้ว และกาบหุ้มตาหลุดหมดแล้วเช่นกัน ตัดแยกกิ่งแขนงออกจากลำ ไผ่ตัดปลายกิ่งออกให้เหลือยาว 1 เมตร การปักชำ ควรจะทำ ในปลายฤดูฝน เตรียมแปลงโดยไถพรวนดิน แล้วตากดินทิ้งไว้  2 สัปดาห์ เป็นที่พื้นดอนนํ้าท่วมไม่ถึง มีการระบายนํ้าได้ดี

การใส่ปุ๋ย
จะใส่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน เป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักโดยจะใส่ในอัตรา 1ตันต่อไร่ และ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 อัตรา 2 - 4 กก. ต่อกอ โดยระวังอย่าให้โดนหน่อ เพราะจะทำ ให้หน่อเน่าได้ ไม่ควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียวจะทำ ให้กอไผ่ทรุดโทรมเร็ว
 ข้อมูลอาหารเสริมพืช แค็ปซูลนาโน วายไอซีดีดีพลัส ผลิตภัณฑ์นำเข้าจากประเทศแคนนาดา
  ส่วนประกอบ :
-
สารประกอบอินทรีย์ที่เกิดจากโมเลกุลของสารหลายชนิดรวมกัน ฮิวมิค แอซิดไม่น้อยกว่า50%โปตัสเซียม8%
-สารผสมเข้มข้นของสารประกอบ คาร์โบไฮเดรตหลายชนิดกับธาตุอาหารเสริมในรูปของสารดีเลต ใช้ร่วมกับไคโตซาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมได้ดีขึ้น ช่วย    เพิ่มแป้งและน้ำตาลให้พืชได้โดยตรง ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดีสมบูรณ์ แข็งแรง ฟื้นตัวได้รวดเร็ว
แมลงศัตรูของไผ่ตง
1. แมลงประเภทเจาะไชหน่อและปล้องอ่อน จะทำ ให้หน่อและปลายยอดอ่อนเน่า และหักตาย แมลง
พวกนี้ได้แก่ ด้วงงวงปีกแข็ง
2. เพลี้ยแป้งเป็นแมลงที่ชอบเกาะอยู่ตามหน่อ ใบอ่อน ดูดน้ำเลี้ยง จะมองเห็นหมือนก้อนเแป้ง ทำ ให้กาบใบและยอดงอหงิก ชะงักการเจริญเติบโต
การตัดแต่งก่อ
หลังการเก็บเกี่ยวหน่อในช่วงฤดูฝน ให้แต่งกอในช่วงฤดูแล้ง ประมาณเดือนพฤศจิกายนควรตัดแต่งกอให้หน่อที่ไม่สมบูรณ์ เหลือไว้เพียง 5-7หน่อ ต่อกอ ควรกอไผ่ตงให้โปร่งและขยายกอออกกว้างขึ้น
การทำหน่อไม้ไผ่ตงหมก
หน่อไม้หมกหรือตงหมกหรือตงหวาน เป็นหน่อไม้ที่ตลาดต้องการมากราคาสูงกว่าหน่อไม้ไผ่ตงธรรมดา เนื่องจากรสชาติและคุณภาพของหน่อจะดีกว่า ลักษณะของหน่อไม้หมกจะเป็นหน่อที่อวบ เนื้อขาว อ่อนนิ่มและหวานกรอบ สามารถสังเกตความแตกต่างได้ คือ สีของหน่อจะเป็นสีนํ้าตาลอมเหลือง ส่วนหน่อไม้ธรรมดา หรือหน่อที่ไม่ได้หมกนั้นสีจะออกสีนํ้าตาลดำ มีนวลช่วงที่เหมาะในการทำตงหมกคือช่วงต้นฝน  พอพฤษภาคมหน่อไม้จะเริ่มแทงหน่อ พันธุ์ที่นิยมทำ ตงหมกคือ ตงจีนหรือ ตงดำ แต่ปัจจุบันพวกที่ปลูกตงเขียวก็เริ่มหันมาทำ ตงหมกมากขึ้น เพื่อปรับปรุงคุณภาพของหน่อตงเขียว ให้ดีขึ้นให้ทัดเทียมกับตงดำด้วย
การทำหน่อไม้หมก คือการป้องกันไม่ให้หน่อไม้ถูกแสงแดด  โดยการเอาปี๊บครอบภายในบรรจุขี้เถ้าแกลบ กลบหน่อไม้ที่มียอดโผล่ประมาณ2-3 นิ้วเมื่อหน่อไผ่ตงโตสูงพ้นปี๊บ 1 นิ้วก็เอาปี๊บและขี้เถ้าแกลบออก แล้วตัดหน่อได้
( ข้อมูล : การปลูกไผ่ตง ..ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ )

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

https://www.youtube.com/watch?v=_OwhdJw5YFY&index=1&list=PLA1_XjEWWXTAnEnnCecz2Y5ucKy-1CFZf
ปลูกผักชีผักสวนครัว ธุรกิจสร้างรายได้ พืชเศรษฐกิจที่่ปลูกง่ายโตไว ไร่ของคุณนา คุณแม่ของคุณวิโรจน์ อุ่นอารมณ์ ห้องสูง อุตรดิตถ์ ประสบความสำเร็จที่งดงาม




ปลูกที่บ่อพระ โดยวิธีการให้ปุ๋ย ขั้นเทพที่สามารถทนร้อนแห้งแล้ง ใช้แล้วพืขแข็งแรงโตไว ใบใหญ่สีสวย สุดยอดการเกษตรกับอาหารพืช นาโนวายไอซีอินทรีย์ชีวภาพ ไร้สารพิษ ปลอดภัย  เกษตรกรประสบความสำเร็จด้วยรอยยิ้ม นี่คือผลพวงที่ต้องการ ผลผลิตเยีย่ม ประหยัดทุนมากเพราะ 1 เม้ด(..50 บาท สมาชิก 20 บาท) ผสมน้ำ 20-40-60-80-100 แล้วแต่ชนิดของพืช.. นอกนี้ยังประหยัดน้ำ เพราะใช้น้ำน้อย ด้วย นาโนทนแล้ง.. ผ่านการพิสูจน์แล้ววำได้ผลจริงทั้งแปลงโตพร้อมกัน และสนับสนุนเกษตรผสมผสานทฤษฏีใหม่ เป็นการส่งเสริมเกษตรพอเพียงกับการใช้นาโน­อินทรีย์ชีวภาพ การปลูกพืชในปัจจุบัน ต้องประหยัดและได้ผลผลิตสูง สภาพแวดล้อมดีๆ ก็กลับมา ที่ทำให้ลดการใช้เคมีลงเกินครึ่ง ในพืชยืนต้น ส่วนพืชกินใบในบางที่ ไม่ต้องใช้เคมีเลย แต่ผลผลิตกับสุดยอด แถมได้ดินดีกลับคืนมาเพราะ มีฮิวมิคแอซิคทำให้ดินร่วนซุย และสารคีเลตที่ทำให้สารเคมีในดินที่ตกค้าง ได้นำมาใช้ให้พืชได้โต เร่งรากเร่งดอก ไม่ต้องใช้สารเร่ง หรือสารจับใบใดๆเลย..นาโนเอาอยู่  ใช้อาหารเสริมเต็มสูตรสุดยอดราคาถูกมากๆที­่ใช้ได้ผลแน่นอน ใช้กับพืชได้หมดทุกชนิด อาหารพืชนาโนวายไอซีเป็นอินทรีย์ชีวภาพ ไร้เคมีไม่มีพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่ลดต้นทุน­เพิ่มผลผลิตสูงขั้วเหนียว ทนแล้ง ทนหนาว สามารถฟื้นฟูจากการชะงักงันของ น้ำท่วม ร้อนจัดหนาวจัดได้ ทำให้ดินดี และวายไอซี ยังเป็นเจ้าแรกที่นำเข้าจากแคนนาดา บริษัทมีเว็ปไซด์ สามารถตรวจสอบได้ โดยมีที่ตั้งอยู่ที่บริษัท เยสไอแคน คอร์เปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ไชน่าทาวน์ ศาลายา .พุทธมณฑล  นครปฐม เชิญติดต่อที่ทีมงานเราได้ทุกเมื่อ.ดูข้อม­ูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์นาโน*โทร.089-270-2607

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

รู้ไว้ใช่ว่า..กับเรื่องข้าวโพด 
ชนิดของข้าวโพด   โดยทั่วไปข้าวโพดจัดออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
1.ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวโพดไร่ (Field Cornปลูกกันมากใน ประเทศสหรัฐอเมริกา สีของเมล็ดมีตั้งแต่ขาวไปจนถึงเหลือง เนื่องจากมีหลายสายพันธุมีโปรตีนน้อยกว่า 

 2.ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่มีการแปรรูป เมล็ดมักจะใสและเหี่ยวเมื่อแก่เต็มที่ เพราะมีน้ำตาลมาก ก่อนที่จะสุกจะมีรสหวานมากกว่าชนิดอื่น
ข้าวโพดคั่ว (Pop Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน เมล็ดค่อนข้างแข็ง  นำไปผ่านความร้อน จึงจะใช้ทานได้ ในต่างประเทศ ถ้าเมล็ดมีลักษณะแหลมเรียกว่า ข้าวโพดข้าว (Rice Corn) ถ้าเมล็ดกลม เรียกว่า ข้าวโพดไข่มุก (Pearl Corn)
ข้าวโพดแป้ง (Flour Corn) เมล็ดมีสีหลายชนิด เช่น หรือสีน้ำเงินคล้ำ หรือมีทั้งสีขาวและสีน้ำเงินคล้ำในฝักเดียวกัน เนื่องจากกลายพันธุ์ พวกที่มีเมล็ดสีคล้ำและพวกกลายพันธุ์เรียกว่าข้าวโพดอินเดียนแดง พวกข้าวโพดสีคล้ำนี้จะมีไนอาซีน สูงกว่าข้าวโพดที่มีแป้งสีขาว
ข้าวโพดเทียน (Waxy Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน จะมีแป้งที่มีลักษณะเฉพาะคือ นุ่มเหนียว เพราะในเนื้อจะประกอบด้วยแป้ง มักปลูกกันมากในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ได้แก่ ข้าวโพดเหนียว และโอเปค-2  
ประธานชุมชน คุณ วาสนา.. ทับคาง เขาย้อย..เพชรบุรี..กับข้าวโพด ใช้น้ำน้อย

พันธุ์ข้าวโพด
1.  พันธุ์ซีพี-ดีเค 888 เกษตรกรปลูกร้อยละ 34.74 ของจำนวนเกษตรกรตัวอย่างทั้งหมด โดยนิยมปลูกมากที่ภาคเหนือ
2.  พันธุ์คาร์กิลล์ 919 เกษตรกรปลูกร้อยละ 17.69 ของจำนวนเกษตรกรตัวอย่างทั้งหมด
นิยมปลูกมากที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3.  พันธุ์บิ๊ก 717 เกษตรกรปลูกร้อยละ 6.87 ของจำนวนเกษตรกรตัวอย่างทั้งหมด นิยมปลูก
มากที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
4.  พันธุ์แปซิฟิค 984 เกษตรกรปลูกร้อยละ 2.26 ของจำนวนเกษตรกรตัวอย่างทั้งหมด นิยมปลูกมากที่ภาคเหนือ และภาคกลาง
5. นครสวรรค์ 1 / นครสวรรค์ 2 / นครสวรรค์ 3 / นครสวรรค์ 72
6.  ข้าวโพดฝักอ่อน : เชียงใหม่ 90 
7.  ข้าวโพดเทียน : สุโขทัย 1
8.  NSX052014 เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเดี่ยวอายุค่อนข้างสั้น สามารถเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 95-100 วัน เกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ Nei462013 เป็นพันธุ์แม่และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ Nei452009 เป็นพันธุ์พ่อ  เมล็ดเป็นชนิดกึ่งหัวแข็งสีส้มเหลือง

ลักษณะเด่น
1)
ผลผลิตสูง เฉลี่ย 1,176 กิโลกรัมต่อไร่ ใกล้เคียงกับพันธุ์ลูกผสมการค้า
2)
มีความทนทานแล้งในระยะออกดอก โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 720 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อกระทบแล้งช่วงออกดอกนานหนึ่งเดือน (ผลผลิตลดลง 39% จากสภาพฝนปกติ)
3)
ต้านทานโรคใบไหม้แผลใหญ่ และต้านทานปานกลางต่อโรคใบด่างที่เกิดจากเชื้อ Maized warfmosaic virus
4)
ฝักแห้งเร็วในขณะที่ต้นยังเขียวสด ทำให้เก็บเกี่ยวได้เร็ว มีความชื้นขณะเก็บเกี่ยวน้อยกว่าพันธุ์อื่นๆ 
ที่ปลูกพร้อมกัน

1. พันธุ์ลูกผสม
เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมากกว่าพันธุ์ผสมเปิด มีลักษณะทางการเกษตรสม่ำเสมอ ได้แก่ ขนาดฝัก ความสูงฝัก ความสูงต้น อายุวันออกดอกตัวผู้และวันออกไหม วันเริ่มเก็บเกี่ยวและช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยว ให้ผลผลิตและคุณภาพสูงกว่าพันธุ์ผสมเปิด เป็นที่ต้องการของตลาดและโรงงาน อีกทั้งยังต้านทานต่อโรค ราน้ำค้าง โดยราคาจำหน่ายเมล็ดพันธุ์
พันธุ์ที่นิยมปลูกในปัจจุบัน มี 6 พันธุ์ คือ
1. จี 5414 เป็นพันธุ์ของ บริษัทซินเจนทาซีดส์ จำกัด ฝักสีเหลืองอ่อน วันถอดช่อดอกตัวผู้ประมาณ 44 วันหลังปลูก อายุเริ่มเก็บเกี่ยวประมาณ 49 วัน ผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือก 1,800-2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักอ่อนปอกเปลือก 270-380 กิโลกรัมต่อไร่
2. เอสจี 18 เป็นพันธุ์ของ บริษัท ซินเจนทาซีดส์ จำกัด ฝักสีเหลืองอ่อน ไม่ต้องถอดช่อดอกตัวผู้เนื่องจากตัวผู้เป็นหมัน อายุเริ่มเก็บเกี่ยวประมาณ 50-52 วัน ผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือก 1,700-2,500 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักอ่อนปอกเปลือก 300-430 กิโลกรัมต่อไร่
3. แปซิฟิค 116 เป็นพันธุ์ของ บริษัทแปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด ฝักสีเหลือง วันถอดช่อดอกตัวผู้ 46-48 วันหลังปลูก อายุเริ่มเก็บเกี่ยว 48-50 วัน ผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือก 1,500-1,600 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักอ่อนปอกเปลือก 270-290 กิโลกรัมต่อไร่
4. แปซิฟิค 283 เป็นพันธุ์ของ บริษัทแปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด ฝักสีเหลืองอ่อน วันถอดช่อดอก ตัวผู้ 45-47 วันหลังปลูก อายุเริ่มเก็บเกี่ยว 47-49 วัน ผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือก 2,200-2,400 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักอ่อนปอกเปลือก 350-400 กิโลกรัมต่อไร่
151
5. ยูนิซีดส์ บี-65 เป็นพันธุ์ของ บริษัท ยูนิซีดส์ จำกัด ฝักสีเหลือง วันถอดช่อดอกตัวผู้ ประมาณ 52 วันหลังปลูก อายุเริ่มเก็บเกี่ยวประมาณ 52 วัน ผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือก 1,800-1,900 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักอ่อนปอกเปลือก 300-350 กิโลกรัมต่อไร่
6. เกษตรศาสตร์ 2 เป็นพันธุ์ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฝักสีเหลืองอ่อน ไม่ต้องถอดช่อดอกตัวผู้เนื่องจากตัวผู้เป็นหมัน อายุเริ่มเก็บเกี่ยวประมาณ 51 วัน ผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือก 1,600-1,800 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักอ่อนปอกเปลือก 280-300 กิโลกรัมต่อไร่

2. พันธุ์ผสมเปิด
มีลักษณะทางการเกษตรไม่สม่ำเสมอเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ลูกผสม มีความต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง แต่เมล็ดพันธุ์ราคาถูกกว่าพันธุ์ลูกผสม พันธุ์ที่นิยมปลูกในปัจจุบัน มี 2 พันธุ์ คือ
เชียงใหม่ 90 ฝักสีเหลือง วันถอดช่อดอกตัวผู้ 40-42 วันหลังปลูก อายุเริ่มเก็บเกี่ยว 43-45 วัน เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือก 870–1,200 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักอ่อนปอกเปลือก 150-200 กิโลกรัมต่อไร่
สุวรรณ 2 เป็นพันธุ์ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฝักสีเหลือง วันถอดช่อดอกตัวผู้ 40-43 วันหลังปลูก อายุเริ่มเก็บเกี่ยว 45-48 วัน ผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือกเฉลี่ย 745 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักอ่อนปอกเปลือกเฉลี่ย 120 กิโลกรัมต่อไร่
ข้าวโพดข้าวเหนียว
ข้าวโพดข้าวเหนียวจัดเป็นข้าวโพดรับประทานฝักสดที่ได้รับความนิยมบริโภคมากชนิดหนึ่งมีความอ่อนนุ่ม ไม่ติดฟันรสหวานเล็กน้อย ขนาดฝักพอเหมาะ อายุเก็บเกี่ยวสั้น (55-70 วัน) ปลูกได้ตลอดทั้งปี ในพื้นที่ไร่และในเขตชลประทานเหมาะสมสำหรับเป็นพืชเสริมรายได้ พื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศประมาณ 80,000 ไร่ พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคอีสาน ตามด้วยภาคตะวันตก และภาคเหนือ ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 1,300-1,700 กิโลกรัมต่อไร่ ใช้บริโภคในท้องถิ่นทั้งหมด
ปัญหาสำคัญของข้าวโพดข้าวเหนียว คือ ขาดแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และพันธุ์ของทางราชการที่ผลิตไม่เพียงพอกับปริมาณความต้องการของเกษตรกร

พันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียว
สำหรับพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวที่ได้มีการปรับปรุงพันธุ์ทั้งโดยหน่วยราชการและบริษัทเอกชน  ได้แนะนำพันธุ์ให้เกษตรกรใช้แล้วมีดังนี้
1. พันธุ์รัชตะ เป็นพันธุ์ผสมเปิด ที่ปรับปรุงพันธุ์โดยศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ สถาบันอินทรีย์จันทรสถิตย์ เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. พันธุ์สำลีอิสาน เป็นข้าวโพดข้าวเหนียวที่แนะนำพันธุ์ในปี 2542 เป็นพันธุ์แรกที่ปรับปรุงโดยคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้มาจากการผสมข้ามชนิดระหว่างข้าวโพดข้าวเหนียวและข้าวโพดซูเปอร์สวีท มีลักษณะพิเศษคือ มีรสชาติเหนียวปนหวานในฝักเดียวกัน โดยเมล็ดส่วนใหญ่ประมาณ 3 ส่วน เป็นเมล็ดข้าวโพดข้าวเหนียว จึงมีรสเหนียวนุ่มและเมล็ดอีกหนึ่งส่วนเป็นเมล็ดของข้าวโพดหวานทำให้มีรสหวาน
3. พันธุ์แวกซ์-22 เป็นพันธุ์ลูกผสมชั่วแรก (F1-hybrid) ที่ผลิตและจำหน่ายโดยบริษัท ซินเจนทาซีดส์จำกัด
4. พันธุ์บิ๊กไวท์ เป็นพันธุ์ลูกผสมชั่วแรก (F1-hybrid) ที่ผลิตและจำหน่ายโดยบริษัท อีสเวส ซีดส์ จำกัด
5. พันธุ์ท๊อปไวท์ เป็นพันธุ์ลูกผสมชั่วแรก (F1-hybrid) ที่ผลิตและจำหน่ายโดยบริษัท เจียไต๋ จำกัด
6. พันธุ์ข้าวเหนียวสลับสี เป็นพันธุ์ลูกผสมชั่วแรก (F1-hybrid) พันธุ์ใหม่ล่าสุดที่ปรับปรุงพันธุ์โดยคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แนะนำพันธุ์อย่างเป็นทางการในปี 2547 เป็นข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์แรกที่มีเมล็ดสองสีคือสีขาวและสีเหลืองสลับกันอยู่ในฝักเดียวกัน ปรับปรุงมาจากการผสมข้ามชนิดระหว่างข้าวโพดข้าวเหนียวและข้าวโพดซูเปอร์สวีท มีลักษณะพิเศษคือ มีรสชาติเหนียวปนหวานในฝักเดียวกัน เมล็ดส่วนใหญ่ประมาณ 3 ส่วน เป็นเมล็ดข้าวโพดข้าวเหนียว จึงมีรสเหนียวนุ่มและเมล็ดอีกหนึ่งส่วนเป็นเมล็ดของข้าวโพดหวานทำให้มีรสหวาน
1 . เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อน      แปซิฟิค 271        แปซิฟิค 321  
2.พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์             แปซิฟิค 999       ซุปเปอร์แปซิฟิ 339     แปซิฟิค 777       แปซิฟิค 559
3 . เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน         ไฮ - บริกซ์ 3        ไฮ - บริกซ์ 53             ไฮ - บริกซ์ 58
การใส่ปุ๋ยให้เหมาะกับดิน

*ดินเหนียวสีดำ  หากมีฟอสฟอรัสสูง  ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 50 กก.ต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 25 กก.ต่อไร่  โดยโรยข้างแถวหลังในแต่ละแปลง  ปลูก 20-25 วัน แต่หากมีฟอสฟอรัสต่ำไป ให้ปุ๋ยเคมี 20-20-0 ในอัตรา 40 กก.ต่อไร่ หรือ 16-20-0  อัตรา 50 กก.ต่อไรโดยโ รองก้นร่องพร้อมปลูก และให้ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 10 กก.ต่อไร่ หรือ 21-0-0 อัตรา 20 กก.ต่อไร่ โรยข้างแถวหลังในแต่ละแปลง  นาน 20-25 วัน  แล้วพรวนดินกลบ
*ดินเหนียวสีแดง  ดินเหนียวสีน้ำตาล หรือดินร่วนเหนียวสีน้ำตาล  ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 หรือ 16-16-8 อัตรา 50 กก.ต่อไร่ รองก้นร่อง และให้ปุ๋ยเคมี 21-0-0 อัตรา 30 กก.ต่อไร่ หรือ 46-0-0 อัตรา 10 กก.ต่อไร่  โรยข้างแถวหลังในแต่ละแปลง  นาน 20-25 วัน แล้วพรวนดินกลบ
*ดินร่วน หรือดินร่วนทราย  ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 หรือ สูตร 15-15-15 แล้วแต่สภาพพื้นดิน อัตรา 1ลูก ต่อไร่ รองก้นร่อง และปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0อัตรา 30 กก.ต่อไร่ โรยข้างแถวหลัง นาน20-25 วัน แล้วพรวนดินกลบหลังจากเก็บผลผลิตแล้วไม่ควรเผาต้นหรือนำตอซังไปทิ้ง ควรไถกลบลงดินเป็นปุ๋ยพืชสด

 การกำจัดวัชพืช
*การปลูกข้าวโพดให้ได้ผลผลิตสูง จึงต้องให้แปลงปลอดวัชพืช ตลอดช่วง 1 เดือนแรก โดยเฉพาะระยะ 13-25 วัน หลังต้นงอก ต้องระวังไม่ให้มีวัชพืชรบกวนจะทำให้ผลผลิต ข้าวโพดเสียหาย
1. การไถและพรวนดิน 
ก่อนปลูกข้าวโพด โดยไถและพรวนดินหลังวัชพืชงอก จะช่วยทำลายกล้าวัชพืชให้ตายได้ ส่วนกล้าและเหง้าวัชพืชที่ตายยาก ควรตากดินนาน 15 วัน ต้องให้วัชพืชตาย ก่อนปลูกข้าวโพด
2. การทำรุ่น
 การใช้ไถพูนโคนมักมีวัชพืช ในแถวหลงเหลืออยู่  จึงต้องจัดการดายตามอีกครั้ง
3. การใช้สารเคมี
 พ่นกำจัดวัชพืชทันทีหลังข้าวโพดและวัชพืชงอกแล้ว การใช้สารเคมีควรฉีดพ่นขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่ แต่ต้องระมัดระวัง อันตรายต่อข้าวโพดเอง คน พืชอื่น ๆ และ สิ่งแวดล้อม ไม่ควรปลูกข้าวฟ่างตามหลังข้าวโพด เพราะทั้ง 2 พืชมีระบบรากคล้ายกันคือ กินธาตุอาหารในดินเหมือนกัน ดินปลูกจะเสื่อม หมดธาตุอาหาร  ควรปลูกพืชหมุนเวียนชนิดอื่นแทน
การปลูกข้าวโพดหวาน แบบใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
1. ปลูกได้ทั้งปีในพื้นที่ที่มีน้ำพอ ใช้เมล็ดพันธุ์ 1-15 กก.ต่อไร่ หรืออาจมากกว่า
2. การเตรียมดิน ไถตะ แล้วตากดินไว้  10-15 วัน หว่านปุ๋ยหมัก หรือ ปุ๋ยคอก 1-2 ตัน/ไร่  ส่วนในดินเหนียว 2-4 ตัน ต่อไร่  ไถแปร 1- 2 ครั้ง  เพื่อย่อยดินให้เหมาะต่อการปลูก  ให้หว่านปุ๋ยเมื่ออายุ  25-30 วัน  และ 40-45 วัน
 3. ระยะปลูก มี 2 แบบ คือ
    3.1  แบบแถวเดี่ยว ระยะระหว่าง แถวห่าง 75  ซ.ม. ส่วนต้นห่างกัน 30 ซ.ม.
    3.2  แบบแถวคู่ ( แบบแปลงผัก ) ชักร่องกว้าง 1.20 เมตร ปลูกข้างสันร่องทั้ง 2 ด้าน ส่วนต้นห่าง  กัน 30 ซ.ม.
4. การใส่ปุ๋ยมี 2 ระยะคือ รองพื้นด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ตามความเหมาะสม และใส่ปุ๋ยแต่งหน้า 2 ครั้ง

ประโยชน์ข้าวโพด  กับพืช
ข้าวโพดสามารถส่งเสริมการย่อยสลาย  PAH ที่ปนเปื้อนสารมลพิษอินทรีย์ใน จึงมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ฟื้นฟูดิน
ประโยชน์ข้าวโพด  กับมนุษย์
ช่วยบำรุงสายตา จะมีสาร เบต้าแคโรทีน ( วิตามินเอ ) ช่วยให้ลดอัตราเสื่อมของลูกตาและป้องกันการเป็นโรคต้อกระจกตาด้วย
ชะลอในการเสื่อมสภาพของร่างกาย   มี โฟเลต ซึ่งจะช่วย สร้างสารต้านอนุมูลอิสระ
ป้องกันโรคหัวใจ  ข้าวโพดจะรวมตัวกับน้ำดีจากคอเลสเตอรอลในตับของเรา ทำให้คอเลสเตอรอลในร่างกาย สลายไปได้ แถมยังอุดมไปด้วยโฟเลต, วิตามินบี, กรดอะมิโนที่ สามารถทำลายเส้นเลือดที่นำไปสู่หัวใจวายโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหลอดเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ลดความดันในร่างกาย
ต้านโรคมะเร็ง   ข้าวโพดยังช่วยลดความเสี่ยงของโรค มะเร็งปอด และเส้นใยในข้าวโพดยังช่วยให้ระบบย่อยอาหาร จึงลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ริดสีดวงทวารท้องผูก ทุเลา ช่วยระบบขับถ่ายให้ดียิ่งขึ้น
 ข้าวโพด กรมวิชาการเกษตร