วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

นาโน อนุภาคที่เล็กสุดๆ ที่มนุษย์สามารถแตกอนูได้ความละเอียดสูงสุดที่นำมาใช้ประโยชน์ต่อมวลมนุษย์มากมาย  นาโนแค็ปซูล วายไอซี ก็เช่นกัน ที่เป็นอาหารเหมาะแก่พืชจากแคนนาดา ที่ดูดซึมสู่ราก ใบและลำต้นได้ดี และรวดเร็ว นำมาใช้กับพืชทุกชนิด ทำให้โตไว ลูกใหญ่ ดก สีสวย หวานอร่อย ผ่านการทดสอบมานับสิบปี ได้ผลเต็มประสิทธิภาพ
ไผ่ตง Dendrocalamus แปลว่า "พืชจำพวกกกหรืออ้อย ไผ่สกุลนี้ที่มีขนาดใหญ่และนิยมปลูกเพื่อการบริโภคหน่อ ไผ่สกุลนี้มีประมาณ  50 ชนิด ในจำนวนนี้พบในไทย 4 ชนิด กระจายพันธุ์ในเขตร้อนและกึ่งร้อนของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในเขตไทย จีน อินเดีย  พม่า ฟิลิปปินส์  มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
ทุกส่วนของไผ่ตงตั้งแต่รากไปจนถึงยอดสุดของลำต้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เช่น ลำต้นใช้ทำ เครื่องเรือน เครื่องจักสาน บ้านพักอาศัย ใข้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตเยื่อกระดาษ รากไผ่ช่วยยึดดินตามบริเวณติดน้ำ เช่น หนอง คลอง บึง ไม่ให้พังทลายหรือลดกระแสนํ้าได้  หน่อที่มีรสหวานกรอบอร่อย ใช้ประกอบเป็นอาหาร
การปลูกไผ่ตง สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก โดยปลูกในพื้นที่ราบ นํ้าไม่ท่วม ดินควรเป็นดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย มีการระบายนํ้าดี
สภาพภูมิอากาศไผ่ตงขึ้นได้ดีเกือบทุกสภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป ความชื้นเหมาะสม มีฝนตกดี


สายพันธุ์ของไผ่ตง
1ไผ่ตงดำ หรือ ไผ่ตงหวาน
ลำต้นจะมีสีเขียวเข้ม อมดำ ใบจะมีสีเขียวเข้ม ใบหนาใหญ่ มองเห็นร่องใบได้ชัดเจน หน่อจะมีนํ้าหนักขนาดปานกลาง 3-6 กิโลกรัม มีรสหวาน กรอบ เนื้อเป็นสีขาวละเอียด ไม่มีเสี้ยน "
2. ไผ่ตงเขียว
ลำต้นจะมีขนาดเล็กและสั้นกว่าไผ่ตงดำ ลำต้นสีเขียว เนื้อไม้บาง ไม่แข็งแรง ถ้ามีลมแรงจะหักพับลงมาได้ง่าย ใบไผ่มีขนาดปานกลาง สีเขียวเข้ม จับแล้วไม่สากมือ หน่อมีนํ้าหนัก 1- 4กิโลกรัม หน่อมีรสชาติหวานอมขื่น เนื้อเป็นสีขาวอมเหลือง ไผ่ตงเขียวมีความคงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีเหมาะที่จะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การขยายพันธุ์ไผ่ตงสามารถขยายพันธุ์ได้ 5 วิธีคือ
วิธีการเพาะเมล็ด
โดยปกติไผ่ตงจะออกดอกในเดือนพฤศจิกายน-มกราคม เและตาย ดอกจะแก่และร่วงหล่นประมาณเดือน มีนาคม-เมษายน
การเก็บเมล็ดพันธุ์
เมล็ดไผ่ตงเมื่อแก่จัดจะร่วงลงพื้น ควรทำความสะอาดหรือถางโคนต้นให้เตียนใช้วัสดุหรือตาข่ายรองรับเมล็ดพันธุ์ไผ่ตง นำเมล็ดที่สมบูรณ์มาขัด นวด เพื่อเอาเปลือกออก นำไปผึ่งแดดประมาณ 1 วัน ก็สามารถนำไปเพาะได้เลย  ไม่ควรเก็บเมล็ดไว้เกิน 1 เดือน เพราะจะทำให้อัตราการงอกลดลง
วิธีการเพาะกล้า
เมล็ดไผ่ตงที่จะเพาะควรขัดเอาเปลือกนอกออกก่อน ถ้าเพาะทั้งเปลือกนอกเมล็ดด้วย ต้นอ่อนจะงอกช้าและเติบโตไม่ดี ให้นำเมล็ดไปแช่นํ้า 2 คืน แล้วนำเมล็ดขึ้นจากนํ้า ห่อเมล็ด
ด้วยผ้าชุบนํ้า รดให้ชื้นเรื่อยๆ  2 คืน เมล็ดจะเริ่มงอก แล้วนำเมล็ดที่เริ่มงอกไปลงแปลงเพาะปลูกที่มีขี้เถ้าแกลบผสมดิน และทรายรองพื้นหนาราว  4 นิ้ว หว่านเมล็ดแล้วกลบด้วยดินหนาประมาณ 1 ซม. แล้วคลุมแปลงด้วยวัดสุคลุมดิน เช่น ฟางข้าว.
การปลูกไผ่ตง
ภายหลังจากการเพาะเมล็ดประมาณ 2 อาทิตย์ ให้ย้ายกล้าไผ่ลงแปลง ซึ่งต้นกล้าไผ่ตงจะมีความสูง 2-3 นิ้ว ย้ายกล้าที่แข็งแรงลงถุงเพาะ อนุบาลไว้ในเรือนเพาะชำ หรือในที่ร่ม 6-7 เดือน ก็นำ ไปปลูกต่อไป
2. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
เราสามารถใช้ต้นกล้าไผ่ตงที่ได้จากการเพาะเมล็ดมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นการนำ ต้นกล้ามาขยายพันธุ์ให้ได้ปริมาณมาก ๆ เพื่อแก้ปัญหาต้นตายเพราะกิ่งแขนงที่นำมาจากต้นแม่ ที่มีอายุมาก กิ่งจะมีอายุเท่ากับต้นแม่ เมื่อต้นออกดอก กิ่งแขนงก็ตายด้วยเช่นกัน แต่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้องอาศัยขั้นตอนและเทคนิคทางวิชาการมาก จึงควรให้หน่วยงานราชการเป็นผู้ดำ เนินการผลิต
3. การขยายพันธุ์โดยการแยกกอเหง้า
การขยายพันธุ์วิธีนี้จะต้องคัดเลือกเหง้าที่มีอายุ 1-2ปี ตัดให้ตอสูงประมาณ ครึ่งเมตรถึง 1 เมตร แล้วขุดเหง้ากับตอ ออกจากกอแม่เดิม อย่าให้ตาที่คอเหง้าแตกเสียหาย เพราะตา จะแตกเป็นหน่อนั่นเอง
4. การขยายพันธุ์โดยใช้ลำ
คัดเลือกลำที่มีอายุ1 ปี  ตัดเป็นท่อนๆ แต่ละท่อนมี 1 ข้อ ต้องตัดให้ตรงกลาง และให้
รอยตัดทั้งสองห่างจากข้อ 1 ต้องเป็นลำที่มีแขนงติดอยู่ด้วย โดยจะต้องตัดให้แขนงยาวประมาณ1 คืบด้วย จากนั้นจึงนำไปชำ  โดยวางให้ข้ออยู่ระดับดิน และให้ตาหงายขึ้น อย่าให้โดนตาเพราะจะแตกเป็นหน่อ แล้วใส่นํ้าลงในปล้องไผ่ให้เต็ม โดยคอยเติมนํ้าให้อยู่เต็มอยู่เสมอ หมั่นดูแลรดนํ้าให้ความชุ่มชื่นหลังจากนั้น 2 - 4 สัปดาห์ หน่อและรากจะแตกออกมา หน่อแทงรากแข็งแรงเต็มที่อายุ  6 เดือนถึง 1 ปี ก็ทำการย้ายปลูกได้
5. การขยายพันธุ์โดยใช้กิ่งแขนงปักชำ
กิ่งแขนง คือกิ่งที่แยกออกจากลำต้นไผ่ตรงบริเวณข้อ ที่โคนกิ่งมีรากเห็นได้ชัด มีรากฝอยแตกจาก
รากแขนงแล้ว ให้เลือกกิ่งแขนงที่มีอายุ 4-6 เดือน เป็นกิ่งค้างปียิ่งดี กิ่งควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1นิ้ว ยอดใบกิ่งแขนงคลี่แล้ว และกาบหุ้มตาหลุดหมดแล้วเช่นกัน ตัดแยกกิ่งแขนงออกจากลำ ไผ่ตัดปลายกิ่งออกให้เหลือยาว 1 เมตร การปักชำ ควรจะทำ ในปลายฤดูฝน เตรียมแปลงโดยไถพรวนดิน แล้วตากดินทิ้งไว้  2 สัปดาห์ เป็นที่พื้นดอนนํ้าท่วมไม่ถึง มีการระบายนํ้าได้ดี

การใส่ปุ๋ย
จะใส่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน เป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักโดยจะใส่ในอัตรา 1ตันต่อไร่ และ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 อัตรา 2 - 4 กก. ต่อกอ โดยระวังอย่าให้โดนหน่อ เพราะจะทำ ให้หน่อเน่าได้ ไม่ควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียวจะทำ ให้กอไผ่ทรุดโทรมเร็ว
 ข้อมูลอาหารเสริมพืช แค็ปซูลนาโน วายไอซีดีดีพลัส ผลิตภัณฑ์นำเข้าจากประเทศแคนนาดา
  ส่วนประกอบ :
-
สารประกอบอินทรีย์ที่เกิดจากโมเลกุลของสารหลายชนิดรวมกัน ฮิวมิค แอซิดไม่น้อยกว่า50%โปตัสเซียม8%
-สารผสมเข้มข้นของสารประกอบ คาร์โบไฮเดรตหลายชนิดกับธาตุอาหารเสริมในรูปของสารดีเลต ใช้ร่วมกับไคโตซาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมได้ดีขึ้น ช่วย    เพิ่มแป้งและน้ำตาลให้พืชได้โดยตรง ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดีสมบูรณ์ แข็งแรง ฟื้นตัวได้รวดเร็ว
แมลงศัตรูของไผ่ตง
1. แมลงประเภทเจาะไชหน่อและปล้องอ่อน จะทำ ให้หน่อและปลายยอดอ่อนเน่า และหักตาย แมลง
พวกนี้ได้แก่ ด้วงงวงปีกแข็ง
2. เพลี้ยแป้งเป็นแมลงที่ชอบเกาะอยู่ตามหน่อ ใบอ่อน ดูดน้ำเลี้ยง จะมองเห็นหมือนก้อนเแป้ง ทำ ให้กาบใบและยอดงอหงิก ชะงักการเจริญเติบโต
การตัดแต่งก่อ
หลังการเก็บเกี่ยวหน่อในช่วงฤดูฝน ให้แต่งกอในช่วงฤดูแล้ง ประมาณเดือนพฤศจิกายนควรตัดแต่งกอให้หน่อที่ไม่สมบูรณ์ เหลือไว้เพียง 5-7หน่อ ต่อกอ ควรกอไผ่ตงให้โปร่งและขยายกอออกกว้างขึ้น
การทำหน่อไม้ไผ่ตงหมก
หน่อไม้หมกหรือตงหมกหรือตงหวาน เป็นหน่อไม้ที่ตลาดต้องการมากราคาสูงกว่าหน่อไม้ไผ่ตงธรรมดา เนื่องจากรสชาติและคุณภาพของหน่อจะดีกว่า ลักษณะของหน่อไม้หมกจะเป็นหน่อที่อวบ เนื้อขาว อ่อนนิ่มและหวานกรอบ สามารถสังเกตความแตกต่างได้ คือ สีของหน่อจะเป็นสีนํ้าตาลอมเหลือง ส่วนหน่อไม้ธรรมดา หรือหน่อที่ไม่ได้หมกนั้นสีจะออกสีนํ้าตาลดำ มีนวลช่วงที่เหมาะในการทำตงหมกคือช่วงต้นฝน  พอพฤษภาคมหน่อไม้จะเริ่มแทงหน่อ พันธุ์ที่นิยมทำ ตงหมกคือ ตงจีนหรือ ตงดำ แต่ปัจจุบันพวกที่ปลูกตงเขียวก็เริ่มหันมาทำ ตงหมกมากขึ้น เพื่อปรับปรุงคุณภาพของหน่อตงเขียว ให้ดีขึ้นให้ทัดเทียมกับตงดำด้วย
การทำหน่อไม้หมก คือการป้องกันไม่ให้หน่อไม้ถูกแสงแดด  โดยการเอาปี๊บครอบภายในบรรจุขี้เถ้าแกลบ กลบหน่อไม้ที่มียอดโผล่ประมาณ2-3 นิ้วเมื่อหน่อไผ่ตงโตสูงพ้นปี๊บ 1 นิ้วก็เอาปี๊บและขี้เถ้าแกลบออก แล้วตัดหน่อได้
( ข้อมูล : การปลูกไผ่ตง ..ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น